敬語คำสุภาพ

คำสุภาพ(敬語)เป็นเอกลักษณ์อีกหนึ่งอย่างของภาษาญี่ปุ่นที่คิดว่ามีเสน่ห์มาก สำหรับผู้เรียนแล้วจำเป็นต้องเข้าใจและนำไปใช้ให้ได้ เนื่องจากมีการใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันหรือการงานด้านธุรกิจติดต่อสื่อสารแน่นอน เช่น การพูดคุยกับผู้หลักผู้ใหญ่ หรือ พบปะลูกค้า เป็นต้น อีกทั้งสำหรับผู้ที่สอบวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่นเอง ก็ต้องจำให้ได้เพราะมีออกข้อสอบแน่นอน ดังนั้นแนะนำให้จำและนำไปใช้จะได้เข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วจะสามารถจำได้ตลอด เพราะความรู้จะอยู่ติดตัวเราไปตลอด ว่าแล้วก็ เริ่มเรียนกันเลยครับ

คำสุภาพ (敬語)นั้นจะแบ่งเป็น แบบมีเป็นข้อกำหนดรูปแบบตายตัว กับ แบบไม่มีข้อกำหนดตายตัว

1.แบบมีข้อกำหนดรูปแบบตายตัว(規則形)  มีการใช้อยู่ 2 กรณี คือ

・ใชัพูดกับฝ่ายตรงข้าม คือ คำยกย่อง (尊敬語)

・ใช้แทนตัวเอง คือ คำถ่อมตัว(謙譲語)

วิธีสร้างคำสุภาพ(敬語の作り方)

1.คำกริยา ~ます形 จะตัด ますเติม おข้างหน้า เช่น 入れます→入れ แล้วจึงเปลี่ยนสร้างเป็นคำยกย่องและคำถ่อมตัว ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • 入れます、ใส่→(入れ) 尊敬語=お入れになります。 ใส่ (ยกย่องให้เกียรติกรณีพูดกับอีกฝ่ายที่เป็นผู้ใหญ่,ลูกค้า) 謙譲語=お入れします。ใส่(ถ่อมตัวเมื่อพูดถึงตัวเอง)
  • 書きます、เขียน→(書き
    尊敬語=お書きになります。
    謙譲語=お書きします。
    ※หากต้องการถ่อมตัวมากขึ้นอีก ให้เปลี่ยจาก します→いたします。        
  • より丁寧な謙譲語=お書きいたします。

2.してください กรุณาทำ~  เป็นการที่ผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ เมื่อต้องการขอให้ผู้ใหญ่ช่วยทำอะไรสักอย่างให้ คำสุภาพ คือ

  • してください →していただけないでしょうか、していただけましたら幸いです    教えてください →教えていただけないでしょうか。(กรณาบอก,สอนด้วยครับ)
  • してください →(ご)お~ください                   入ります →お入りください(こちらにお入りください、กรุณาเข้าทางนี้ครับ)

2.แบบไม่มีข้อกำหนดตายตัว(不規則形)

  • 行きます・来ます (ไป,มา)
    尊敬語=いらっしゃいます
    謙譲語=まいります、うかがいます
  • 食べます・飲みます (กิน,ดื่ม)
    尊敬語=召し上がります
    謙譲語=いただきます
  • います (อยู่,มี)
    尊敬語=いらっしゃいます
    謙譲語=おります
  • 見ます(ดู,มอง)
    尊敬語=ご覧になれます
    謙譲語=拝見します
  • 言います (พูด)
    尊敬語=おっしゃいます
    謙譲語=申します
  • もらいます (ได้รับ)
    尊敬語= ー
    謙譲語=いただきます
  • あげまず (ให้)
    尊敬語= ー
    謙譲語=差し上げます
  • 知っています (รู้)
    尊敬語=ご存知です
    謙譲語= 存じ上げています
  • します・やります (ทำ)
    尊敬語=なさいます
    謙譲語= いたします
  • 会います (พบ,เจอ)
    尊敬語=お会いになります
    謙譲語= お目にかかります
  • 帰ります (กลับ)
    尊敬語=お帰りになります
    謙譲語= 失礼します

นอกจากนี้ยังมีคำสุภาพอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า(接頭辞) เป็นการเติม お~、และ ご~ ด้านหน้าของคำนามซึ่งจะกลายเป็นคำสุภาพ ซึ่งข้อกฎของการใช้ お~、และ ご~ อาจะไม่ตายตัวเสียทีเดียว แต่ก็พอมีหลักใหญ่ดังต่อไปนี้

  1. เติม お ข้างหน้า จะใช้กับ คำที่เป็นภาษาญี่ปุ่นแท้ๆดั้งเดิม(和語)และคันจิจะอ่านออกเสียงแบบคุงโยมิ (訓読み) ได้แก่ お話、お手紙、お味噌汁、お見事、お掃除、お電話、お名前、お酒、お店、お便所、お行儀、お勘定、お餞別、お許し、お年玉、お弁当、お世話、お時間、お荷物、お引っ越し、お天気、お食事、お作法、お賽銭 เป็นต้น
  2. เติม ご ข้างหน้า จะใช้กับ คำที่เป็นคำมาจากภาษาจีน(漢語)และคันจิอ่านออกเสียงแบบ องโยมิ(音読み) ได้แก่ ご用心、ご熱心、ご希望、ご親切、ご到着、ご丁寧、ご意見、ご説明、ご立派、ご飯、ご主人、ご案内、ご出席、ご家庭、ご招待、ご卒業、ご研究 เป็นต้น
  3. แต่ทั้งนี้ก็ยังมีคำยกเว้นพิเศษที่สามารถเติมได้ทั้ง お~、และ ご~ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ที่ได้ใช้กันมา ได้แก่ 返事、利息、会計、入学、年賀、祝儀、香典、病気、勉強、都合、通知、受験、葬儀、年始、祝辞、位牌、誕生 เป็นต้น

ดังนั้นพิจารณาให้ดีแล้วนำไปใช้ให้ถูกต้องกันด้วยนะ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น