ไวยากรณ์อีกหนึ่งอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของภาษาญี่ปุ่นที่มีการใช้กันทั่วไป ผู้เรียนต้องเข้าใจและใช้ให้เป็น ก็คือ รูปถูกกระทำ (受身形) และ รูปให้กระทำ (使役形) มีตัวอย่างประโยคการใช้ และรูปประโยคดังนี้ครับ
1.受身形 รูปถูกกระทำ ยกตัวอย่างพร้อมอธิบายคู่ประโยคตัวอย่าง ดังนี้
※ 私が泥棒に財布を盗まれました。 ฉันถูกโจรขโมยกระเป๋าสตางค์
盗む(ぬすむ)ขโมย →盗まれる(ぬすまれる)ถูกขโมย
จุดสังเกตุ : รูปถูกกระทำ จะใช้คำช่วย に ชี้ผู้ที่กระทำ(กระทำโดยใคร) ส่วนผู้ถูกกระทำนั้นเป็นประธานประโยค ดังนั้นยังคงใช้ は、が (แต่ส่วนใหญ่จะละประธานไว้เนื่องจากเป็นผู้พูดนั่นเอง)
※ 友達に殴られました 。 ถูกเพื่อนต่อย
※ 彼氏に誕生日を忘れられました。 ถูกแฟนลืมวันเกิด
※ 彼女に日記を見られました。 ถูกแฟนดูสมุดไดอารี่บันทึก
รูปแบบไวยากรณ์ ของรูปถูกกระทำ(受身形の文法)
飲む(のむ) ดื่ม 飲まれる (のまれる)ถูกดื่ม
食べる(たべる)กิน 食べられる(たべられる)ถูกกิน
する ทำ される ถูกทำ
来る(くる) มา 来られる(来られる)ถูกมา
2.使役形 รูปให้กระทำ ยกตัวอย่างพร้อมอธิบายคู่ประโยคตัวอย่าง ดังนี้
※私は来年から子供にピアノを習わせます。 จากปีหน้าฉันจะให้ลูกเรียนเปียโน
習います(ならいます)เรียน→習わせます(ならわせます)ให้เรียน
จุดสังเกตุ: รูปให้กระทำ จะใช้คำช่วย に ชี้ผู้ที่ถูกให้กระทำ(ถูกให้ทำอะไร) ส่วนผู้ที่เป็นผู้ที่สั่งให้ทำนั้นเป็นประธานประโยค ดังนั้นยังคงใช้ は、が
※ 先生は私たちにプレゼンをさせました。 อาจารย์ให้พวกเรารายงาน
※ お父さんが赤ちゃんに、ご飯を食させていました。 คุณพ่อให้ลูกน้อยกินข้าว
※ その仕事は、私にさせてください。 งานนั้น กรุณาให้ผมทำด้วยครับ
รูปแบบไวยากรณ์ ของรูปให้กระทำ(使役形の文法)
飲む(のむ) ดื่ม 飲ませる (のませる)ให้ดื่ม
食べる(たべる)กิน 食べさせる(たべさせる)ให้กิน
する ทำ させる ให้ทำ
来る(くる) มา 来らせる(来らせる)ให้มา
ฝึกซ้อมการผันจากรูปธรรมดา ให้เป็นรูปต่างๆบ่อยๆ จะเกิดความชินและชำนาญเชียวชาญในที่สุด