ภาษาญี่ปุ่นจะมีโครงสร้างประโยคที่คล้ายกับภาษาไทยแต่ไม่เหมือนเสียทีเดียว โดยโครงสร้างประโยคของไทยประกอบด้วย ประธาน+กริยา+กรรม ภาษาญี่ปุ่นก็เหมือนกัน แต่รายละเอียดในประโยคจะมีการเรียบเรียบที่แตกต่าง รวมถึง คำช่วย (助詞)ที่เพิ่มเข้ามาเพื่อบ่งชี้ให้ประโยคสมบูรณ์ตามแบบญี่ปุ่น
ตัวอย่าง เช่น ฉันไปโรงเรียน 私は学校へ行きます。
私(วะตะชิ)ฉัน, 学校(กักโค)โรงเรียน, 行きます(อิคิมัส)ไป , へ(เฮะ)เป็นคำช่วย ซึ่งถ้าหากเรียงกันตามประโยคแบบญี่ปุ่นตรงตัวแล้ว จะได้เป็น ฉันโรงเรียนไป แต่เนื่องจากที่ได้บอกไว้ตอนต้นแล้วกาเรียบเรียงจะแตกต่างจากประโยคไทยนิดหน่อย คำกริยาจะอยู่หลังประโยค ดังนั้นบ่อยครั้งที่ต้องฟังจนจบประโยคจึงจะเข้าใจความหมาย
คำช่วย มีด้วยกันหลายตัวพอสมควร เช่น は、へ、に、が、も、で เป็นต้น ซึ่งบริบทหรือบทบาทในการใช้ก็แตกต่างกันซึ่งกำหนดไว้แล้วว่า คำช่วยนี้ใช้ำกับคำกริยาตัวไหน ซึ่งตรงนี้จะขออธิบายกันทีละตัว ไปกันเลยครับ
助詞の役割は重要である。とても小さなことばだが、使い方を誤るとニュアンスが変わってしまうので、慎重に用いなければならない。
「は」と「が」
「は」と「が」は何かがちがうと、おそらく多くの人が感じている。けれども、そのちがいはなかなかうまく言い当てられない。これまでにも、専門家の研究がいくつかあった。ここでは、その中から一つを紹介することにする。それは、
は……既知の情報を示す
が……未知の情報を示す
である。
【例】
企画2年、製作期間5年に及んだ大作「港」は完成し、その試写会を行うことになりました。
この例では、映画「港」について何かを読み手は既に知っていると書き手は判断している。これが、はじめての「試写会のお知らせ」なら、つまり、読み手は「港」について何も知らないと書き手が判断しているのなら、「は」は不自然である。
【例】
企画2年、製作期間5年に及んだ大作「港」が完成し、その試写会を行うことになりました。
「に」と「へ」
「に」と「へ」 一般に、「に」と「へ」には、次のようなちがいがあると言われる。
に……動作の到達点を示す
へ……動作の方向を示す
ところが、ほとんどの場合、「に」と「へ」を入れ換えても、意味は通じる。
【例】
〔1〕大臣がアメリカに(へ)行く。
〔2〕犯人が現場に(へ)立ち戻る。
〔3〕医師が患者に(へ)薬を投与(とうよ)する。
ただ、入れ換えるとニュアンスが変化する。このニュアンスのちがいは、次のように説明されることが多い。
へ……ただ「方向」を表す
に……他のどこ(どれ)でもない「対象」を表す
【例】の〔1〕は、「へ」なら「方向としてのアメリカ」をただ表すだけだが、「に」なら、「イギリスでも中国でもないアメリカ」というニュアンスがこめられることになる。
なお、【例】の〔2〕〔3〕は、動詞の表す意味から考えると、「に」を用いるのがふつうである。「へ」でもよい理由の一つは、このときの動詞が「(広い意味での)移動(とその方向)」を表している点にある。「病院にいる」と言えても「病院へいる」と言えないのは、「いる」がこの「移動」を含んでいないからである。
「より」と「から」 「より」と「から」は、次のように使い分けたほうがよい。
より……比較を示す
から……起点を示す
「より」は、「会議は3時より始めます」のように、「から」と同じ使い方をすることがある。しかし、「より」は比較、「から」は起点と決めておいたほうが、読みちがいを防げる。
【よくない例】
台風は、沖縄より室戸岬を経由して近畿地方に上陸することが多い。
このままだと「台風は、沖縄を経由するよりも、室戸岬を経由することのほうが多い」と受け取られるかもしれない。「沖縄と室戸岬を経由する」ことを述べたいのなら、次のように書き換える。
【書き換えた例】
台風は、沖縄から室戸岬を経由して近畿地方に上陸することが多い。
【よくない例】
2日より4日は、全商品10パーセント引きです。
「2日に比べて4日は10パーセント引きだ」と受け取る人がいるかもしれないので注意を要する。
【書き換えた例】
2日から4日は、全商品10パーセント引きです。
「の」
「の」はいろいろな働きをする。それだけに解釈の幅も広がり、場合によっては幾通りもの解釈が可能な文章ができあがってしまう。所有用法以外の「の」は、できるだけ言い換えたほうが無難である。
また、「の」が連続する文は非常に冗漫に感じられる。「の」の連続を避けるために、ことばを補う必要がある。
【例〔1〕】
×総理の公開した資産の内容は、~
○総理が公開した資産の内容は、~
【例〔2〕】
×A氏の本を探している。
○A氏が著した本を探している。
○A氏について書かれた本を探している。
【例〔3〕】
×八百屋の向かいの魚屋の看板の文字~
○八百屋の向かいにある魚屋の看板に描かれた文字~
「で」
「で」は、動作の行われる場所・手段・原因などを表す。「校庭で遊ぶ」「ペンで書く」「試験で忙しい」などの場合である。
「で」の例には、意味はわからなくはないが、書き手の意図を明瞭(めい‐りょう)に表現できていないものがある。他のことばに置き換えるなどして、的確に表現することに努める。
【例〔1〕】
×停電で停止しない制御装置
○停電しても停止しない制御装置
前者はまちがった表現とはいえない。しかし、「たとえ~しても」というニュアンスを伝える必要があったのならば、後者のように、その部分をはっきり示したほうがよい。
【例〔2〕】
×この建物で、新しい工法が用いられた。
○この建物には、新しい工法が用いられた。
○この建物で、はじめて、新しい工法が用いられた。
Credit : https://www.sanseido.biz/Main/words/hyakka/howto/15.aspx
หน้าที่ของคำช่วยนั้นสำคัญมาก เป็นหน่วยคำศัพท์ที่เล็กมาก แต่ถ้าวิธีการใช้คำช่วยผิดละก็ความหมายก็จะเปลี่ยนไป ดังนั้นจึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
「は」กับ「が」
「は」กับ「が」อะไรคือสิ่งที่ต่างกัน หลายคนน่าจะรู้สึกความต่างนั้นได้อยู่ แต่ว่าความต่างนั้นก็ไม่สามารถพูดถูกได้เสียทีเดียว ซึ่งตามงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญได้บอกว่ามีอยู่หลายจุดด้วยกัน นำสิ่งเหล่านั้นมาแนะนำให้ทราบกัน
は..แสดงถึงข้อมูลเรื่องที่ทราบกันอยู่แล้ว
が..แสดงถึงข้อมูลเรื่องที่ยังไม่ทราบ
ตัวอย่าง
企画2年、製作期間5年に及んだ大作「港」は完成し、その試写会を行うことになりました。
ตัวอย่างนี้ เกี่ยวกับภาพยนตร์ เรื่อง มินะโตะ ผู้เขียนได้เขียนโดยตัดสินเอาว่าผู้อ่านได้รู้เรื่องนี้อยู่แล้ว หากเป็นการแจ้งให้ทราบ ประกาศฉายรอบปฐมทัศน์ ครั้งแรกละก็ ซึ่งก็คือ ผู้เขียนจะเขียนโดยตัดสินว่าผู้อ่านไม่รู้อะไรเกี่ยวกับ มินะโตะ มาก่อนเลยหากเป็นเช่นนั้นละก็ การใช้「は」จะไม่เป็นธรรมชาติ
ตัวอย่าง
企画2年、製作期間5年に及んだ大作「港」が完成し、その試写会を行うことになりました。
มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ มินะโตะ ที่วางแผน2ปี ใช้เวลาผลิต 5ปี ได้เสร็จสมบูรณ์และได้เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ไปแล้ว
「に」と「へ」
「に」と「へ」 โดยทั่วไป ได้กล่าวกันว่า「に」と「へ」 มีข้อแตกต่างใช้งานดังต่อไปนี้
に……แสดงถึงจุดกระทำของกิริยา
へ……แสดงทิศทางของกิริยา
แต่ว่าเกือบทุกกรณี แม้จะใช้「に」กับ「へ」สลับกัน ก็สื่อความหมายได้
ตัวอย่าง
〔1〕大臣がアメリカに(へ)行く。 รัฐมนตรีไปอเมริกา
〔2〕犯人が現場に(へ)立ち戻る。 คนร้ายจะย้อนกลับไปที่เกิดเหตุ
〔3〕医師が患者に(へ)薬を投与(とうよ)する。 หมอให้ยารักษาคนไข้
เพียงแต่ หากใช้สลับกันความรู้สึกพิเศษด้านภาษาจะเปลี่ยนไป ซึ่งความแตกต่างของลักษณะความรู้สึกพิเศษด้านภาษานี้ มีการอธิบายไว้เยอะดังต่อไปนี้
へ……แสดง ทิศทาง ธรรมดา
に……แสดง เป้าหมายอย่างอื่น ที่ไม่ใช่ที่ไหน อันไหน
ตัวอย่าง 1 หากเป็น 「へ」ละก็จะแสดงทิศทาง คือ อเมริกา แต่หากเป็น「に」ละก็จะให้ความรู้สึกพิเศษถึงไม่ใช่เพียงแค่ประเทศอเมริกา แต่จะรวมไปถึงประเทศอังกฤษ จีน ด้วย
อนึ่ง ตัวอย่าง 2 ,3 หากคิดจากความหมายที่แสดงของคำกิริยาแล้ว การใช้「に」เป็นเรื่องปกติ เหตุผลอย่างหนึ่งที่ใช้ 「へ」ก็ได้ คือ ตอนที่คำกิริยานั้น(ความหมายกว้าง) กำลังแสดงถึงการเคลื่อนที่(กับทิศทางนั้น) ซึ่งที่สามารถพูด「อยู่ที่โรงพยาบาล病院にいる」ได้ แต่ไม่สามารถพูด「病院へいる」ได้ก็คือ คำว่า อยู่「いる」 ไม่ได้มีความหมายเกี่ยวกับ การเคลื่อนที่ ยังไงล่ะ
「より」と「から」 ใช้ตามวิธีการใช้ดังต่อไปนี้จะเป็นการดี
より……แสดงการเปรียบเทียบ
から……แสดงจุดเริ่มต้น
「より」คือ (ประชุมจะเริ่มเวลาบ่าย 3 โมง) ซึง 「から」เองก็มีวิธีการใช้ที่เหมือนกันก็ดี แต่อยากให้จำว่า 「より」เป็นการ
เปรียบเทียบ และ 「から」คือจุดเริ่มต้น จะดีกว่า จะสามารถป้องกันการอ่านผิด
(ตัวอย่างที่ไม่ดี)
台風は、沖縄より室戸岬を経由して近畿地方に上陸することが多い。
พายุจะเริ่มจากโอกินาว่า ผ่านแหลมมุราโต้ และขึ้นฝั่งดินที่เขตคิงคิเป็นส่วนใหญ่
หากดูจากประโยคนี้ละก็ บางทีอาจจะเข้าใจว่า (พายุจะผ่านเข้ามาที่แหลมมูราโต้มากกว่าผ่านโอกินาว่า )ก็เป็นได้ หากอยากจะบอกว่า พายุผ่านโอกินาว่ากับแหลมมูราโต้ ละก็ ให้เปลี่ยนการเขียนเป็นดังต่อไปนี้
(ตัวอย่างการเปลี่ยนการเขียน)
台風は、沖縄から室戸岬を経由して近畿地方に上陸することが多い。
(ตัวอย่างที่ไม่ดี)
2日より4日は、全商品10パーセント引きです。
ตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 4 สินค้าทุกตัว ลดลง 10 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งอาจะมีคนที่เข้าใจผิดว่าเป็น (วันที่ 4 เมื่อเทียบกับวันที่ 2 วันที่ 4 ลดลง 10 เปอร์เซ็นต์) ก็เป็นได้
(ตัวอย่างการเปลี่ยนวิธีเขียน)
2日から4日は、全商品10パーセント引きです。
「の」
「の」มีการใช้งานหลากหลาย ขอบข่ายการตีความที่กว้าง แล้วแต่กรณีมีหลายประโยคที่สามารถตีความได้เลย แต่สำหรับการนำไปใช้ที่นอกเหนือจากแสดงการครอบครองเป็นเจ้าของแล้วนั้นให้เปลี่ยนวิธีพูดเท่าทีทำได้จะปลอดภัยกว่า
และประโยคที่มี 「の」ต่อเนื่องจะรู้สึกว่าเยิ่นเย้อมาก เพื่อเป็นการเลี่ยงการต่อเนื่องของ「の」การเสริมคำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
ตัวอย่าง 1
รายละเอียดของทรัพย์สินที่นายกรัฐมนตรีเปิดเผยต่อสาธารณชน
×総理の公開した資産の内容は、~
○総理が公開した資産の内容は、~
ตัวอย่าง 2
กำลังค้นหาหนังสือของนาย A
×A氏の本を探している。
○A氏が著した本を探している。
○A氏について書かれた本を探している。
ตัวอย่าง 3
ตัวหนังสือที่เขียนที่ป้ายของร้านขายปลาที่อยู่ฝั่งด้านร้านขายของชำ
×八百屋の向かいの魚屋の看板の文字~
○八百屋の向かいにある魚屋の看板に描かれた文字~
「で」
「で」 แสดงถึง สถานที่ วิธีการ สาเหตุที่กิริยากระทำ เป็นต้น เช่น (เล่นที่สนามโรงเรียน) (เขียนด้วยปากกา) (ยุ่งอยู่กับการสอบ) เป็นต้น
ตัวอย่าง 「で」 ไม่ใช่ว่าไม่เข้าใจความหมายแต่ก็มีอันที่เจตนาของผู้เขียนแสดงได้ไม่ชัดเจน พยายามเปลี่ยนใช้คำศัพท์ใหม่ในการเขียน เป็นต้น จะได้สื่อแสดงความหมายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
ตัวอย่าง 1
เป็นอุปกรณ์ที่มีระบบไม่หยุดทำงานถึงแม้ไฟฟ้าดับ
×停電で停止しない制御装置
○停電しても停止しない制御装置
อันแรก ไม่สามารถพูดได้ว่าแสดงความหมายที่ผิด แต่ว่า ถ้าหากจำเป็นต้องแสดงถึงความหมายพิเศษแบบว่า (ถึงแม้~ก็)
แบบอันหลังจะแสดงความหมายนั้นชัดเจนกว่า
ตัวอย่าง 2
สิ่งก่อสร้างนี้ ใช้วิธีการก่อสร้างแบบใหม่
×この建物で、新しい工法が用いられた。
○この建物には、新しい工法が用いられた。
○この建物で、はじめて、新しい工法が用いられた。
