คำกิริยา คือ คำที่แสดงการกระทำ เช่น กิน เดิน นอน เป็นต้น ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 動詞 ซึ่งตอนเริ่มต้นเรียนจะแยกไม่ออกว่า คำไหนเป็นอกรรมกิริยา(กิริยาที่ไม่ต้องมีกรรม)自動詞 และคำไหนที่เป็นสกรรมกิริยา(กิริยาที่ต้องมีกรรม) ในครั้งนี้มีวิธีการจำแบบง่ายๆมาให้ลองนำไปใช้กันดูครับ
1.อกรรมกิริยา(自動詞) เป็นกิริยาไม่ต้องมีกรรมมารับ จึงไม่ใช้คำช่วย を(เพราะをเป็นคำช่วยที่ใช้กับกรรมโดยตรง) แต่จะใช้คำช่วย がแทน ซึ่งคำที่เป็นอกรรมกิริยาจะเป็นลักษณะสิ่งที่เกิดนั้นขึ้นนั้น เกิดเป็นเองโดยธรรมชาติ ไม่มีใครไปทำให้เกิด(หรือไม่เห็นว่าใครไปทำให้เกิด) ※หลักการจำ 自動詞=~が
เช่น
花が咲いています はながさいています ดอกไม้บาน(บานเองธรรมชาติ)
電気がついています ไฟติดสว่างอยู่(ไม่รู้ว่าใครเปิดแต่เห็นว่าสว่างอยู่)
ドアが開いています ประตูเปิดอยู่(ไม่รู้ว่าใครเกิด แต่เห็นว่าเปิดยู่)
椅子が壊れています いすがこわています เก้าอี้พัง(ไม่รู้ว่าใครทำพัง แต่เห็นว่าพังอยู่)
2.สกรรมกิริยา(他動詞) เป็นกิริยาที่ต้องมีกรรมมารับโดยตรง จึงมีคำช่วยเป็น をเสมอ เป็นกิริยาที่เกิดจากการะทำของมนุษย์ (ที่เห็นว่าใครเป็นคนทำขึ้น)
เช่น
ごはんを食べます ごはんをたべます กินข้าว
電気をつけます でんきをつけます เปิดไฟ
ドアを開けます ドアをひらけます เปิดประตู
椅子を壊れしました いすをこわしました ทำเก้าอี้พัง
หลักการจำอีกอย่างคือ อกรรมกิริยา(自動詞)ส่วนใหญ่จะอยู่กลุ่ม 1 จำพวกแถว き เป็นต้น ส่วนสกรรมกริยา(他動詞)ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม1 จำพวกแถว します、กลุ่ม 2,3 เป็นต้น
เพื่อความถูกต้องทางไวยากรณ์ในการสื่อสาร นำไปใช้ให้ถูกต้องด้วยนะครับ