แผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผงจะมีคุณสมบัติหรือสเป็คที่ไม่เท่ากันแล้วแต่วัตถุดิบที่ใช้และขนาดของแผงมีผลให้ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าได้ไม่เท่ากัน ซึ่งข้อมูลต่างๆที่ว่านี้จะระบุไว้ที่ด้านหลังแผงและมีอยู่ในคูู่มือสเป็คด้วย ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกันไว้ดีกว่าว่า ข้อมูลสเป็คแต่ะละข้อระบุไว้ในป้ายด้านหลังแผงนั้น มีความหมายอย่างไรกันบ้าง
ก่อนอื่นอยากให้ทำความรู้จักกับคำว่า STC (Standard Test Conditions) หมายถึง มาตรฐานการทดสอบแผงโซลาร์เซลล์ ทำการทดสอบ ณ ที่เงื่อนไข พลังงานแสงตกกระทบ 1,000 W/ตารางเมตร อุณหภูมิ 25℃ และมวลอากาศ (Air Mass)หนา 1.5 เท่า
- Model No. คือ ยี่ห้อรุ่นของแผง
- Cell Brand คือ ยี่ห้อของผู้ผลิตผลึกเซลล์
- Cell Type คือ ชนิดประเภทของเซลล์ผลึกที่ใช้
- Peak Power (Pmax) คือ กำลังไฟฟ้า(วัตต์)สูงสุดของแผง
- Power Tolerance Range(%) คือ ค่าความคลาดเคลื่อนของกำลังไฟฟ้า
- Open circuit Voltage (Voc) คือ แรงดันไฟฟ้าที่วัดได้ขณะที่ไม่มีโหลด
- Max.Power Voltage (Vmp) คือ ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุดของแผง (ที่ STC)
- Short Circuit Current (Isc) คือ ค่ากระแสไฟฟ้าของแผงเมื่อวัดลัดวงจรไฟฟ้าเข้าหากัน
- Max.Power Current (Imp) คือ ค่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดของแผง (ที่ STC)
- Maximum System Voltage คือ ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุดของแผงในระบบ(การต่อพ่วงหลายแผง)
- Dimension (mm) คือ ขนาดความกว้าง ความยาว ความหนาของแผง
เนื่องจากทั่วโลกความเข้มแสงรวมทั้งอุณหภูมิแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ยิ่งประเทศไทยเป็นแถบเขตร้อนและแต่ละจังหวัดเองความเข้มแสงและอุณภูมิก็ไม่เท่ากันด้วย ดังนั้นหากถามว่า อุณหภูมิ STC คือ 25℃ แต่อุณหภูมิเมื่อใช้จริงสูงกว่า เช่น ใช้จริงตอนเดือนเมษายน แดดร้อนมาก 40℃ จะมีผลต่อการผลิตกำลังไฟฟ้าหรือไม่ ตามข้อมูลแล้วมีผลครับ กล่าวกันว่า อุณหภูมิทุก 1℃ที่เพิ่มขึ้น แผลก็จะร้อนขึ้นส่งผลให้ให้ประสิทธิภาพการผลิตกำลังไฟฟ้าต่ำลง 0.45% (+1℃ = -0.45%)
ตัวอย่างเช่น แผงขนาด 320 วัตต์ (STC 25℃) ใช้งานอุณหภูมิจริง 40℃ (อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น= 15℃) ประสิทธิภาพผลิตกำลังไฟฟ้าจะต่ำลง คิดเป็น (15 X 0.45%)=6.75% ขนาดแผง 320 วัตต์ กำลังวัตต์ที่หายไปคิดเป็น(320 W X 6.75%) = 21.6 W
ทำให้แผงจะเหลือประสิทธิภาพกำลังวัตต์ (320-21.6)=298.4วัตต์ (ณ อุณหภูมิ 40 ℃)
การเลือกใช้งานนั้น เหตุผลหนึ่งที่จำเป็นต้องรู้ขนาดความต้องการใช้กำลังไฟฟ้าเสียก่อนนั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากขนาดของแผงด้วย เนื่องด้วยแผงขนาด 300 หรือ 320 วัตต์นั้น ค่อนข้างใหญ่พอสมควรเคลื่อนย้ายค่อนข้างลำบาก(เหมาะสำหรับติดตั้งถาวร) และมีราคาสูงขึ้นตามกำลังวัตต์ด้วย ดังนั้นหากรู้ว่าเราต้องการใช้ไฟฟ้ารวมขนาดกี่วัตต์ หากใช้ไม่เยอะแล้วละก็ สามารถเลือกแผงที่มีขนาดเล็กลง เคลื่อนย้ายสะดวก อีกทั้งสามารถประหยัดสบายกระเป๋าอีกด้วย