เมื่อต้องการต้องการเพิ่มแผง PV ให้เพียงพอกับความต้องการของโหลด มีวิธีการต่อ 2 แบบ คือ ต่อแบบอนุกรม และต่อแบบขนาน จะมีผลลัพธ์ที่ต่างกัน ดังนี้
- ต่อเพิ่มแผง PV แบบอนุกรม คือ การต่อเอาขั้วบวกและขั้วลบต่อเข้าหากัน(ต่อสลับขั้วกัน) การต่ออนุกรมนี้ จะทำให้แรงดัน(V) เพิ่มขึ้น กระแส(A) จะคงเดิม นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการเพิ่มแรงดันให้เท่ากับแรงดันที่โหลดต้องการ เช่น ปั๊มซัมเมอร์สต้องการแรงดัน 90V จำเป็นต้องต่ออนุกรมแผงขนาด 300W ขึ้นไป จำนวน 3 แผง (แผง PV 300W ขึ้นไป จะมีแรงดันแผงประมาณ 30V ขึ้น)

ตัวอย่าง จากการต่ออนุกรมแผง PV ขนาด 12V 5A จำนวน 2 แผง จะได้ผลลัพธ์
แรงดันจะได้เป็น 24V กระแสจะเป็น 5A
2. ต่อเพิ่มแผง PV แบบขนาน คือ การต่อแบบเข้าขั้วบวกต่อกับขั้วบวก ขั้วลบต่อกับขั้วลบ(ขั้วเหมือนกันต่อเข้าด้วยกัน) มีผลคือ ทำให้กระแส A เพิ่มขึ้น ส่วนแรงดันเท่าเดิม(หรือเท่ากับแผงที่แรงดันต่ำสุด)

ตัวอย่าง จากการต่อขนานแผง PV ขนาด 12V 5A จำนวน 2 แผง จะได้ผลลัพธ์
กระแสจะได้เป็น 10A ส่วนแรงดันจะเท่าเดิม คือ 12V
ข้อควรระวังในการเพิ่มแผง PV
- ถ้าต่อแบบขนานเพื่อเพิ่มกระแส (A) จะทำใหกระแสเพิ่มขึ้น ควรคำนวนส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระแสด้วย เช่น ขนาดสายไฟ หรือ ขนาดชาร์จเจอร์ เป็นต้น ว่าเหมาะสมกับกระแสไฟที่เพิ่มขึ้นหรือเปล่า อาจจะเพิ่มขนาดสายไฟให้ทนกระแสมากขึ้น รวมถึงเปลี่ยนขนาดทนกระแส (A) ของชาร์จเจอร์ให้รองรับได้มากขึ้นด้วย
- ถ้าใช้ในระบบออฟกริต กระแสที่ใช้ชาร์จแบตเตอรี่ กระแสไม่ควรสูงเกิน จะทำให้เกิดความร้อน อายุแบตเตอรี่จะสั้นเร็ว ควรใช้กระแสชาร์จประมาณ 10% ของความจุแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่ขนาด 12V 100Ah ควรใช้กระแสชาร์จ 10A เป็นต้น
- ถ้าเป็นไปได้ การต่อพ่วงแผงให้ใช้แผงPV ที่ขนาดเท่ากัน (วัตต์เท่ากันทั้งหมด) แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ควรใช้แผงที่ขนาดใกล้เคียงกัน(เน้นให้แรงดันใกล้เคียงกัน) โดยเฉพาะการต่อแบบขนาน ประสิทธิภาพของแผงจะตกลงมาอยู่ที่แผงกำลังวัตต์ต่ำสุด อีกถ้าแรงดันของแผงต่างกันมาก อาจทำให้เกิดแรงดันย้อนเข้าสู่แผงที่แรงดันน้อยกว่า ทำให้แผงเกิดความเสียหายได้